หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุณค่างานบริการจิตอาสา



การเป็น "อาสาสมัคร"

ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จำกัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจำกัด ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็น "จิตอาสา" ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม เท่านั้น
จิตอาสา...ทำไม?
หลายคนมีคำถามกับสังคมว่าทำไมความวุ่นวายของสังคมจึงมากนัก การแข่งขันที่ร้อนแรงในทุกๆด้าน การทำลายสิ่งแวดล้อม การเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส การปล่อยมลพิษสู่สังคม การว่าร้ายเสียดแทง การแก่งแย่งชิงดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากสาเหตุเบื้องต้นคล้ายๆกันคือ ความเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ได้ในส่วนตนเป็นหลัก ใช่หรือไม่

ทำอย่างไรจะลดความเอาแต่ได้ลงบ้าง ตรงกันข้ามกับการเอาเข้ามาใส่ตัวก็คือ " การให้ " แก่คนอื่นออกไป เมื่อคนต่างๆเริ่มมองออกไปสู่ภายนอก แค่นอกจากตัวเองเท่านั้นเอง มองเห็นผู้อื่นอย่างลึกซึ้งแท้จริงมากขึ้น เริ่มเข้าใจมุมมองของคนอื่น เขาต้องการอะไร เขาอยู่ในสภาพไหน เราช่วยอะไรได้บ้าง มองเห็นสังคม เห็นความเป็นไป เห็นแนวทางที่จะช่วยกันลดปัญหา เริ่มให้ เริ่มสละสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เวลา แรงงาน เงิน สิ่งของ อวัยวะหรือแม้กระทั่งสละความเป็นตัวเราของเรา ซึ่งนั่นเป็นหนทางการพัฒนาจิตใจแต่ละคนได้อย่างเป็นรูปธรรม
จิตสาธารณะตรงนี้ที่มองเห็นผู้อื่นเห็นสังคมดังนี้เองที่เราเรียกกันว่า " จิตอาสา " จิตใจที่เห็นผู้อื่นด้วย ไม่เพียงแต่ตัวเราเอง เราอาจจะยื่นมือออกไปทำอะไรให้ได้บ้าง เสียสละอะไรได้บ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แบบเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ใช่ผู้เหนือกว่า มีน้ำใจแก่กันและกันไม่นิ่งดูดายแบบที่เรื่องอะไรจะเกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับฉันฉันไม่สนใจ สามารถแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการให้รูปแบบต่างๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม
ปัจจุบันได้มีวาระแห่งชาติการให้และอาสาช่วยเหลือสังคมแล้ว เป็นการร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริม " จิตอาสา "ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการปลุกน้ำใจคนไทยให้งอกงามกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มาช่วยกันดูแลสังคมไทยร่วมกัน ดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน ตลอดจนปัญหาต่างๆรอบๆตัว อย่างน้อย มองออกมานอกกรอบของเรื่องตัวเอง ออกมาดูคนอื่น เห็นใจ เข้าใจคนอื่นกันมากขึ้น ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ทำดีให้เป็นรูปธรรมกันมากขึ้นในสังคมไทย มิใช่เพียงแต่วิจารณ์ ต่อว่าใครหรือคนกลุ่มใดที่ควรรับผิดชอบ แต่ออกมารับผิดชอบ มีส่วนร่วมด้วยกัน
เพียงแค่คนไทยแต่ละคน ลุกขึ้นมาทำความดีกันคนละนิด คนละนิดเดียวเท่านั้น ประเทศชาติของเราน่าจะงดงามขึ้นอีกไม่น้อย เช่น เพียงร่วมกันบริจาคเงินกันเพียงคนละ ๑๐ บาท เราก็จะมีงบประมาณช่วยเหลือสังคมขึ้นมาทันที ๖๐๐-๗๐๐ ล้านบาท ถ้าเราอาสาช่วยเหลือสังคมคนละเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อปี เราก็จะมีถึง ๖๐-๗๐ ล้านชั่วโมงที่คนมาช่วยเหลือกัน เราลองนึกดูกันซิคะว่าสังคมเราจะเป็นอย่างไร ถ้าคนไทยมีจิตอาสากันเต็มแผ่นดิน ความสุขสงบของสังคมคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เรามาช่วยกันสร้าง " จิตอาสา " กันเถอะค่ะ

...จิตอาสา คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น ....

...หากแต่เพียงมองรอบตัวท่าน...

...ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม...



ขอบคุณข้อมูลจาก พี่ป๋อง/teetat_bamrungsab@hotmail.com

http://writer.dek-d.com/nana_devil/writer/view.php?id=514436

repost โดย / สุพล พันอิน

ฟังเพลงออนไลน์24ชั่วโมง ขอเพลง CodeRadio

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“วิทยา” ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุรินทร์






 วิทยา ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุรินทร์
เผยผู้สูงอายุและญาติ พอใจโครงการทางด่วน 70 ปีไม่มีคิว

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยผู้สูงอายุและญาติ พึงพอใจโครงการ 70 ปีไม่มีคิว  ในระดับดีถึงดีมากถึงร้อยละ 92  เนื่องจากได้พบหมอเร็ว กลับบ้านเร็วกว่าเดิม  เฉลี่ยใช้เวลาบริการเพียง 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยพบว่าอัตราการใช้บริการของผู้สูงอายุในแผนกผู้ป่วยนอกและใน สูงกว่ากลุ่มวัยอื่นถึง 2 เท่าตัว

                วันนี้ (22 พฤษภาคม 2555) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์คำรณ ไชยศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง   เดินทางไปที่โรงพยาบาลสุรินทร์ มอบรถเข็นนั่งให้ผู้พิการ 40 คัน รถโยก 25 คัน และอุปกรณ์เครื่องช่วยสำหรับผู้พิการ 300 ชิ้นให้แก่ผู้พิการ เยี่ยมและมอบของขวัญให้ผู้สูงอายุ 100 ปีขึ้นไปจำนวน 2 คน  จากนั้นเดินทางไปที่หอประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อเปิดประชุมสัมมนาพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของจังหวัดสุรินทร์ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน ในการนี้ ดร.นพ.ธงชัย  ตรีวิบูลย์วณิชย์ ได้มอบพระกริ่งจอมสุรินทร์หน้าตัก 9 นิ้ว ซึ่งเป็นพระที่ประชาชนชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ก่อนที่นายวิทยา จะได้เดินทางไปตรวจราชการที่ จังหวัดร้อยเอ็ดต่อไป

นายวิทยากล่าวต่อว่า  นโยบายของรัฐบาลในช่วงระยะเวลา 4 ปีนี้ เน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชนตั้งแต่ตั้งครรภ์ วัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ วัยบรรลุนิติภาวะ วัยชรา และผู้พิการ และเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งปรับปรุงอาคารสถานที่ ทั้งห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ให้ผู้สูงอายุและผู้พิการใช้ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย  อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้สูงอายุไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคสมองเสื่อม ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศสำรวจคัดกรองเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม

ทางด้าน นายแพทย์คำรณ ไชยศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลจากการวิเคราะห์การให้บริการสุขภาพกับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพในปี 2553 ภายใต้ 3 กองทุนภาครัฐคือ ประกันสังคม ประกันสุขภาพ และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พบอัตราการใช้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของผู้สูงอายุ สูงกว่าวัยอื่นๆ โดยมีอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 6.2 ครั้งต่อคนต่อปี อัตราการใช้บริการผู้ป่วยในเฉลี่ย 0.23 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ 2 เท่าตัว

โรคที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนโรงพยาบาลมากที่สุดคือ โรคระบบการไหลเวียนโลหิตและโรคทางเดินหายใจ คาดการณ์ว่าในอีก 12 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายสุขภาพของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 3.6 เท่าตัว จาก 63,000 ล้านบาทในปี 2553 เป็น 220,000 ล้านบาทในปี 2565  จะต้องเร่งพัฒนาระบบบริการและขยายการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ในกลุ่มประชาชนตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการป่วย เร่งรัดการจัดระบบบริการฟื้นฟูสุขภาพให้ต่อเนื่องหลังรักษาจนถึงในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ถูกต้อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 




 

ข่าว / สุพล พันอิน 
 จพง.โสตทัศนศึกษา / รพ.สุรินทร์

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์ จัดงาน “วันพยาบาลสากล ปี 2555”


        


มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
   วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ณ บริเวณหน้าห้องตรวจคลินิคโรคระบบทางเดินหายใจ  โรงพยาบาลสุรินทร์ โดย ดร.นพ.ธงชัย  ตรีวิบูลย์วณิชย์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ ได้เป็นประธานในการเปิดงาน "วันพยาบาลสากล" เนื่องจากวันที่ 12พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่สภาการพยาบาลระหว่างประเทศกำหนดใหเป็นวันพยาบาลสากล เพื่อระลึกถือมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำหนดวิชาชีพพยาบาล โดยในปีนี้ กำหนดให้จัดกิจกรรมภายใต้หัวข้อ"Closing the gap: From evidence to action" หรือ "พยาบาลสร้างสรรค์บริการ: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ"
               ดร.นพ.ธงชัย ตรีวิบูลย์วณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์  กล่าวว่า "วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่อยู่กับคนไข้ตลอดเวลา และอาชีพพยาบาลนั้นงานค่อนข้างจะหนักมาก  บางครั้งอาจมีการกระทบกระทั่งกับคนไข้บ้าง  แต่ก็ขอให้เราภูมิใจในวิชาชีพของเรา"
             โดยฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์ ในฐานะเป็นองค์กรหนึ่งของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของวิชาชีพในการสร้างสรรค์บริการพยาบาลที่มีคุณภาพ จึงได้จัดงานนี้ขึ้นมาในงานจะมีนิทรรศการเกี่ยวกับสุขภาพ มีโต๊ะตรวจวัดความดัน มีบริการตรวจเจาะวัดรับน้ำตาลในเลือด   โดยมีประชาชนที่มารับบริการ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วยังมีบุคลากรด้านสาธารณสุขมาร่วมงานกว่า 100 คน
            ในการจัดงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อสดุดี และเชิดชูเกียรติ มิสฟรอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้กำกำเนิดวิชาชีพพยาบาล เพื่อให้พยาบาลตระหนักถึงบทบาทสำคัญของวิชาชีพในการสร้างสรรค์บริการโดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ จัดนิทรรศการ เผยแพร่ผลงานประประชาสัมพันธ์ ให้ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไปทราบเกี่ยวกับบทบาทของพยาบาล รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพในระบบบริการสุขภาพในกลุ่มโรคต่างๆ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนกระบวนการการพัมนาคุณภาพในทุกหน่วยงาน 










สุพล พันอิน / ข่าว/เรียบเรียง