Supon News
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563
อันตราย PM2.5
PM2.5 คืออะไร? อันตรายและการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
อากาศที่เราหายใจเข้าไปไม่ใช่อากาศที่บริสุทธิ์ เพราะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 รวมถึงเชื้อโรค และสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มองไม่เห็นอีกมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วจมูกของเราจะมีขนจมูกที่ช่วยกรองฝุ่นละอองต่างๆ ก่อนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ปัจจุบันในประเทศไทยได้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง PM2.5 ซึ่งจมูกไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน เพราะอาจส่งเป็นอันตรายและผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างมากในภายหลัง
PM2.5 คืออะไร?
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ- แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
- การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5
ร่างกายของผู้ที่แข็งแรงเมื่อได้รับฝุ่น PM2.5 อาจจะไม่ส่งผลกระทบให้เห็นในช่วงแรกๆ แต่หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสะสมในร่างกาย สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายในภายหลัง โดยแบ่งได้เป็นผลกระทบทางร่างกาย และผลกระทบทางผิวหนังผลกระทบทางสุขภาพ
- เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
- ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
- เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
- เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
- มีผื่นคันตามตัว
- ปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
- เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
- ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
ระดับความรุนแรงของ PM2.5
องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้ฝุ่น PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ประกอบกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากถึง 50,000 ราย ส่งผลไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศนี้เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าเวลาไหนที่คุณภาพอากาศเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถตรวจเช็คดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) ได้ที่เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ โดยประเทศไทยแบ่งดัชนีคุณภาพอากาศเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป โดยใช้สีเป็นตัวเปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพAQI | PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) | คุณภาพอากาศ | สีที่ใช้ | ข้อความแจ้งเตือน |
---|---|---|---|---|
0 - 25 | 0 - 25 | ดีมาก | ฟ้า | เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว |
26 - 50 | 26 - 37 | ดี | เขียว | สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ |
51 - 100 | 38 - 50 | ปานกลาง | เหลือง | สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระคายเคืองตา ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน |
101 - 200 | 51 - 90 | เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ | ส้ม | ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ แล้วมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ |
201 ขึ้นไป | 91 ขึ้นไป | มีผลกระทบต่อสุขภาพ | แดง | ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกอย่างหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ |
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย
ข่าวเรื่องฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นข่าวที่เกิดขึ้นบ่อยในระยะ 1-2 ปีมานี้ และประเทศไทยมักถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก โดยการจัดอันดับตามมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา (US AQI) ซึ่งสามารถดูข้อมูลนี้ได้จากแอปพลิเคชัน Air Visualแหล่งกำเนิด PM2.5 หลักๆ ในประเทศไทย มี 3 อย่าง คือ รถยนต์ การเผาในที่โล่งแจ้ง และสภาพความกดอากาศต่ำ ซึ่งวิกฤตฝุ่น PM2.5 เมื่อช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กรุงเทพมหานคร และสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวแต่ไม่ได้ผลที่ดีนัก
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 นายประลอง ดำรงไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้ประชุมติดตามความก้าวหน้า "การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง" พบว่าการลดใช้เชื้อเพลิงจากโรงงาน การเผาในที่โล่งแจ้ง ทำให้ฝุ่น PM2.5 ลดลง แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังกันต่อไป
แนวทางการป้องกันฝุ่น PM2.5
- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ หน้ากาก N95 ซึ่งมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัย และบางคนอาจสวมแล้วอาจให้ความรู้สึกอึดอัด เพราะหายใจได้ลำบากกว่าปกติ
- หากไม่ใช้หน้ากาก N95 อาจใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น ซึ่งมักมีเขียนระบุบนผลิตภัณฑ์ว่าสามารถป้องกัน PM2.5 ได้ หรือถ้าหากหาไม่ได้จริงๆ อาจใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้
- พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิดเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากจำเป็นต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองเมื่ออยู่ข้างนอกอาคาร
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM2.5 เสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจ
ที่มา : https://www.daikin.co.th/service-knowledge/pm-2-5/
วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ผอ.รพ.สุรินทร์นำคณะผู้บริหารเคลื่อนไหวร่างกายผ่อนคลายกล้ามเนื้อระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมสระโบราณ นพ.ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ นำคณะผู้บริหารเคลื่อนไหวร่างกายผ่อนคลายกล้ามเนื้อระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล โดยมีนโยบายให้มีการทำกิจกรรมออกกำลังกายให้เป็นวาระพิเศษ ระหว่างพักเบรคการประชุมคณะกรรมการบริหาร ทุกครั้ง เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยดีของบุคลากร ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดีโดยมอบหมายให้ทีมงานกลุ่มงานสุขศึกษา รับผิดชอบนำทำกิจกรรม
วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561
โรงพยาบาลสุรินทร์รับสมัครงาน
โรงพยาบาลสุรินทร์รับสมัครงาน รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาด้วยครับ หรือดาวโหลดโหลดที่linkนี้
http://www.surinhospital.org/…/w7FtZLpoahz1dskZ9lZw33eC8vYu…
http://www.surinhospital.org/…/9t36dexdnxfH8CCzj3ehXw4362AZ…
http://www.surinhospital.org/…/w7FtZLpoahz1dskZ9lZw33eC8vYu…
http://www.surinhospital.org/…/9t36dexdnxfH8CCzj3ehXw4362AZ…
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
ตรุษจีนนี้2560ปลอดภัยไร้ไข้หวัดนก
วันตรุษจีน จะมีชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยมักจะนำไก่หรือเป็ด
มาปรุงเป็นของไหว้ โดยมีการจับจ่ายซื้อของกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยจากการเกิดโรคไข้หวัดนก มีหลักปฏิบัติง่ายๆ คือ เลือก หลีก ล้าง ได้แก่ เลือกบริโภคเนื้อไก่ เป็ด และไข่ที่ปรุงสะอาด หลีกเลี่ยงนำสัตว์ปีกที่ป่วย มีอาการหงอย ซึม ขนยุ่ง หรือป่วยตาย มาประกอบเป็นอาหาร ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสัมผัสสัตว์หรือสิ่งคัดหลั่งของสัตว์
----เลือก เป็ด ไก่ เลือกตูดสดใหม่ เนื้อไม่มีสีคล้ำ ผิวหนังหรือเครื่องในไม่มีจ้ำเลือด
ไข่ ไม่มีมูลติดเปื้อนที่เปลือกไข่
-----หลีกเลี่ยง ไม่นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมาประกอบอาหารเด็ดขาด
------ล้างมือ ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ทุกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสัตว์ปีก
------------------------------------------
มาปรุงเป็นของไหว้ โดยมีการจับจ่ายซื้อของกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยจากการเกิดโรคไข้หวัดนก มีหลักปฏิบัติง่ายๆ คือ เลือก หลีก ล้าง ได้แก่ เลือกบริโภคเนื้อไก่ เป็ด และไข่ที่ปรุงสะอาด หลีกเลี่ยงนำสัตว์ปีกที่ป่วย มีอาการหงอย ซึม ขนยุ่ง หรือป่วยตาย มาประกอบเป็นอาหาร ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสัมผัสสัตว์หรือสิ่งคัดหลั่งของสัตว์
----เลือก เป็ด ไก่ เลือกตูดสดใหม่ เนื้อไม่มีสีคล้ำ ผิวหนังหรือเครื่องในไม่มีจ้ำเลือด
ไข่ ไม่มีมูลติดเปื้อนที่เปลือกไข่
-----หลีกเลี่ยง ไม่นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมาประกอบอาหารเด็ดขาด
------ล้างมือ ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ทุกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสัตว์ปีก
------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
เสตปขั้นเทพชายโชวเดี่ยว กับสาวๆที่มาในชุุดแบบนี้...ทำเอาคนดูอึ้ง!!!
ีทีมชนะเลิศ..Hand hygiene campaign for Reduce HAI ทีม oncomed โดย โดย อาคาร 10 ชั้น 2 รพ.สุรินทร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)